เว็บไซต์รวมความรู้ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน อัปเดทใหม่ทุกวัน
Home » การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน มีประโยชน์อย่างไร

การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน มีประโยชน์อย่างไร

by Kay Elliott
2.1K views
การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน

การตรวจสอบความปลอดภัย คืออะไร มีอะไรบ้าง

การตรวจสอบความปลอดภัยหรือที่เราเรียกว่า Safety Patrol  คือ การตรวจสอบความปลอดภัยในพื้นที่บริเวณโรงงาน ทั้งในส่วนของการกระทำที่ไม่ปลอดภัย สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย

หรือการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยต่างๆ เพื่อหาจุดที่อาจก่อให้เกิดความอันตราย แล้วดำเนินการแก้ไข เพื่อป้องกันก่อนเกิดอุบัติเหตุ

การตรวจสอบความปลอดภัยทำอย่างไร

การตรวจสอบความปลอดภัยทำอย่างไร

ในการเดินตรวจสอบความปลอดภัยนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละสถานประกอบกิจการว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยการเดินตรวจสอบความปลอดภัย หรือการทำกิจกรรม Safety Patrol นั้น ต้องมีเครื่องมือในการทำกิจกรรม เพื่อใช้สำหรับบันทึกสิ่งที่เราพบเจอ เช่น check sheet สมุดสำหรับบันทึก กล้องถ่ายรูป เป็นต้น และเราอาจแบ่งประเภทของการทำกิจกรรม Safety Patrol ได้ดังนี้ 

1. การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน (Daily Safety Patrol)การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน เป็นการตรวจสอบโดยหัวหน้างาน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีหัวหน้างานอยู่แล้ว ซึ่งเบื้องต้นหัวหน้างานจะต้องตรวจสอบตั้งแต่การแต่งกายของพนักงานในพื้นที่ของตนเอง ว่าถูกต้อง เรียบร้อยตามที่บริษัทกำหนดไว้หรือไม่ ในระหว่างการปฏิบัติงาน ก็ต้องดูว่าพนักงานทำงานตามขั้นตอนหรือไม่ สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยถูกต้องไหม และตรวจสอบดูว่า พนักงานตรวจสอบเครื่องจักรก่อนการทำงานหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่หัวหน้างานต้องทำเป็นประจำทุกวัน การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวันโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของบริษัทซึ่งการทำงานในแต่ละวันเจ้าหน้าที่ จป. ของบริษัทต้องเดินตรวจสอบความปลอดภัยทุกวันเพื่อดูภาพรวมในเรื่องของความปลอดภัยซึ่งหากพบเห็นจุดที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต้องรับแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและทำการแก้ไขแต่หากไม่สามารถแก้ไขได้โดยทันทีให้ทำการติดป้ายเตือนอันตรายให้เห็นได้ชัดเจนแต่หากจุดที่พบอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต้องสั่งให้หยุดใช้งานทันทีจนกว่าจะได้รับการแก้ไข

2. การตรวจสอบความปลอดภัยประจำสัปดาห์ (Weekly Safety Patrol)การตรวจสอบความปลอดภัยประจำสัปดาห์ เป็นการตรวจสอบความปลอดภัย โดยคณะกรรมการความปลอดภัยของบริษัท เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม แต่อาจไม่จำเป็นต้องมีผู้บริหารเข้าร่วมด้วย เนื่องจากอาจจะมีความถี่มากเกินไป ซึ่งการตรวจสอบความปลอดภัยประจำสัปดาห์นั้น ทางผู้เขียนมีความเห็นว่า เหมาะกับโรงงานที่มีขนาดใหญ่ มีพื้นที่การผลิตหลายไลน์การผลิต ทำให้ในการเดินตรวจความปลอดภัยแต่ละครั้งใช้เวลานาน และมีข้อที่ต้องแก้ไขจำนวนมาก ทำให้ใช้เวลาในการจัดทำรายงานสรุปนาน จึงมีความจำเป็นต้องจัดทำแผนการเดินตรวจความปลอดภัย เพื่อกำหนดว่า แต่ละสัปดาห์ จะทำกิจกรรม safety patrol ที่แผนกไหน แล้วดำเนินการตามแผนที่วางไว้ หรือหากบริษัทมีพื้นที่ไม่มากนัก การเดินตรวจสอบประจำสัปดาห์ อาจเดินเพื่อตรวจดูการแก้ไขของข้อเสนอแนะจากการเดินครั้งก่อน

3. การตรวจสอบความปลอดภัยประจำเดือน (Monthly Safety Patrol)การตรวจสอบความปลอดภัยประจำเดือน เป็นการตรวจสอบโดย คณะกรรมการความปลอดภัยของบริษัท และให้ผู้บริหารเข้าร่วมด้วย โดยผู้บริหารควรเข้าร่วมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง โดยในการทำกิจกรรม แต่ละครั้งต้องมีหัวหน้าหน่วยงานที่ถูกตรวจเข้าร่วมด้วย ซึ่งการตรวจสอบความปลอดภัยประจำเดือน ก็เหมือนการตรวจสอบความปลอดภัยประจำสัปดาห์ แต่เพิ่มสมาชิกเข้ามาคือผู้บริหาร เพราะหากผู้บริหารเข้าร่วมด้วย เป็นการแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของบริษัท และทำให้การแก้ไขที่ต้องใช้งบประมาณ ได้รับการอนุมัติได้โดยง่ายและรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบเครน ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ตรวจสอบระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตรวจสอบถังดับเพลิง เป็นต้น

4. การตรวจความปลอดภัยกรณีพิเศษ คือ การตรวจความปลอดภัยเป็นกรณีไป เช่น มีอุบัติเหตุจากการทำงาน มีความจำเป็นอย่างมาก ที่คณะกรรมการความปลอดภัยของโรงงาน จะต้องเข้าไปดูหน้างาน ดูจุดเกิดเหตุ เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ และนำสาเหตุนั้นมาแก้ไข ปรับปรุง เพื่อไม่ให้มีอุบัติเหตุในลักษณะเดิมเกิดขึ้นซ้ำอีก รวมทั้งเอาการแก้ไขนั้น มาขยายผลไปยังจุดอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายหรือเหมือนกับจุดที่เกิดอุบัติเหตุด้วยการตรวจสอบความปลอดภัยเราไม่จำเป็นต้องทำครบทุกประเภทก็ได้อาจทำตามที่เห็นว่ามีความเหมาะสมกับขนาดและประเภทของกิจการซึ่งในการทำกิจกรรม safety patrol ในแต่ละครั้งให้นำ check sheet ที่เราออกแบบไว้ไปด้วยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจว่าเราจะตรวจเรื่องไหนบ้างซึ่ง Check sheet นั้นต้องถูกออกแบบมาจากข้อกำหนดของกฎหมายตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของแต่ละเรื่องเช่นเครื่องจักรไฟฟ้าแสงสว่างเป็นต้นและต้องเพิ่มเติมปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับองค์กร

ตรวจสอบความปลอดภัยเพื่อหาจุดบกพร่องการตรวจสอบความปลอดภัยมีประโยชน์อย่างไร

การตรวจสอบความปลอดภัย ทำเพื่อตรวจสอบพื้นที่ของบริษัท หากเรามีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เห็นจุดที่ผิดปกติไปจากเดิม และหากจุดที่ผิดปกตินั้นอาจก่อให้เกิดอันตราย จะได้รีบแก้ไขก่อนที่จะมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย ที่จะนำไปสู่อุบัติเหตุเป็นศูนย์

สรุป

กิจกรรม safety patrol เป็นกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยกิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นกิจกรรมที่เน้นการทำงานเป็นหมู่คณะโดยการดำเนินกิจกรรมนั้นเริ่มตั้งแต่การกำหนดแผนการทำกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับขนาดและประเภทของกิจการและเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมแล้วก็นำข้อเสนอแนะมาสรุปโดยการถ่ายรูปก่อนการแก้ไขสรุปผลลงแบบฟอร์มของแต่ละบริษัทแล้วส่งให้ผู้รับผิดชอบ อย่างเช่น จป.เทคนิคในการดำเนินการแก้ไขตามระยะเวลาที่กำหนดซึ่งหากการแก้ไขแบบถาวรต้องใช้ระยะเวลาและงบประมาณก็ให้ดำเนินการแก้ไขแบบชั่วคราวก่อนแล้วจัดทำแผนการแก้ไขแบบถาวรแต่สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากการแก้ไขแล้วต้องไม่ลืมที่จะขยายผลการแก้ไขไปยังจุดอื่นๆ ที่มีลักษณะของอันตรายคล้ายหรือเหมือนกันด้วยซึ่งในการกำหนดระยะเวลาในการแก้ไขก็อยู่ที่ระดับความรุนแรงของอันตรายแต่ละประเภท 

ซึ่งแต่ละโรงงานหรือสถานประกอบการที่อยู่ในบัญชี 1,2,3 ตามกฎกระทรวง 2565 กำหนดต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานประจำตำแหน่งตามจำนวนพนักงานในสถานประกอบการมี โดยผู้ที่ทำการดูแลความปลอดภัยในโรงงานที่มีความเชี่ยวชาญแต่ปฏิบัติงานในด้านความปลอดภัยเป็นหลักคือ จป. เทคนิค ที่จะเป็นผู้ดูแลดังนั้นสถานประกอบการจึงควรให้ความสำคัญในการเลือกศูนย์ฝึกอบรม จป. เทคนิค ที่ได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้ที่จะมาทำงานในตำแหน่ง จป. เทคนิคสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

foxtucker

เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานผ่านเว็บไซต์ FoxtucKer เว็บบทความ ที่เต็มไปด้วยเคล็ดลับดีๆ และข้อมูลที่มีคุณภาพ

ติดต่อ

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by foxtucker