Home » คปอ. คณะกรรมความปลอดภัยฯ ในการทำงาน ตามกฎหมายใหม่ คือใคร

คปอ. คณะกรรมความปลอดภัยฯ ในการทำงาน ตามกฎหมายใหม่ คือใคร

by Kay Elliott
1.5K views
คปอ

คปอ. คณะกรรมความปลอดภัยฯ ในการทำงาน ตามกฎหมายใหม่

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเรื่องความปลอดภัยถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ทำให้เราร็จัก คปอ.มากยิ่งขั้น ซึ่งหากสถานประกอบกิจการใด มี คปอ.

เราจะเห็นกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับผู้ที่อยู่ในสถานประกอบกิจการทุกคน 

คปอ. คือใคร

กรรมการความปลอดภัย” หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ 

คณะกรรมการความปลอดภัย” หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

ซึ่งสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวน ซึ่งคณะกรรมการความปลอดภัย เป็นคณะบุคคล ที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับทุกคนที่เข้ามาในสถานประกอบกิจการ

ต้องมี คปอ. กี่คน ถึงจะถูกตามกฎหมายกำหนด

ต้องมี คปอ. กี่คน ถึงจะถูกตามกฎหมายกำหนด

จำนวนคณะกรรมการคามปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น ซึ่งกฎหมายได้กำหนดจำนวน คปอ. ขั้นต่ำเอาไว้ ซึ่งหากต้องการมีจำนวน คปอ. มากกว่าที่กฎหมายกำหนดก็สามารถทำได้ เพียงแต่ว่า ต้องเพิ่มสัดส่วนของผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้าง ในสัดส่วนที่เท่ากัน ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงจำนวนขั้นต่ำของ คปอ. ในสถานประกอบกิจการ

บัญชีท้ายกฎกระทรวง จำนวนพนักงาน

50 – 99 คน

จำนวนพนักงาน

100- 499 คน

จำนวนพนักงาน

500 คนขึ้นไป

บัญชี 1
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ

ระดับบังคับบัญชา)

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 2 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ 

ระดับบังคับบัญชา)

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 4 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ 

ระดับบังคับบัญชา)

บัญชี 2
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน

(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ 

ระดับบังคับบัญชา)

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 2 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ 

ระดับบังคับบัญชา)

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 4 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(จป.เทคนิคขั้นสูงหรือวิชาชีพ 

ระดับบังคับบัญชา)

บัญชี 3
  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 1 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา)

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 2 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา)

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน 1 คน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา 4 คน
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คน
  • กรรมการและเลขานุการ 1 คน 

(ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา)

  • ต้องมีจำนวนคณะกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากัน และกรรมการความปลอดภัยต้องได้รับการฝึกอบรมภายใน 60 วัน ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก และมีวาระคราวละ 2 ปี 
  • ซึ่งจำนวน คปอ. ดังกล่าว เป็นจำนวนขั้นต่ำที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ได้หมายความว่าพอดีหรือเพียงพอ เราสามารถปรับเพิ่มจำนวนให้เพียงพอต่อสถานประกอบกิจการของเราได้ตามความเหมาะสม 

คปอ มีหน้าที่อะไรบ้าง

คปอ. มีหน้าที่อะไร สำคัญอย่างไร

หน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ ตามกฎหมาย กำหนดไว้ 12 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
  2. จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างหรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  3. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้างเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมาและบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  5. พิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  6. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงานและรายงานผลการสำรวจดังกล่าว รวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น ในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง
  7. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้างและบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  8. จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อนายจ้าง
  9. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอต่อนายจ้าง
  10. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีรวมทั้งระบุปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปีเสนอต่อนายจ้าง
  11. ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  12. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

คปอ.ยังมีหน้าที่ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้งนอกจากหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว คปอ.ยังมีหน้าที่ประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อมี

คณะกรรมการกึ่งหนึ่งร้องขอ หรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้น เพื่อร่วมกันพิจารณามาตรการการแก้ไขและป้องกันการเกิดอุบัตเหตุเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำอีก และหน้าที่อื่นๆ ของ คปอ.ในด้านความปลอดภัย ยังมีอีกมาก เช่น

  • สอดส่องดูแล ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน เนื่องจาก คปอ. มีผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งทำงานอยู่หน้างาน จะเห็นสภาพการทำงานตามความเป็นจริง
  • แจ้งจุดที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพื่อป้องกันก่อนเกิดเหตุ
  • ตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงาน หากพบสิ่งที่ผิดปกติ ให้แจ้งต่อผู้รับผิดชอบ เพื่อดำเนินการแก้ไข
  • สังเกตุพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงาน เป็นต้น

คปอ.เป็นคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการเป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญอย่างมากในระบบความปลอดภัยเพราะมีหน้าที่ในการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัยของสถานประกอบกิจการเพื่อให้ทุกคนในบริษัทมีสภาพความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยปราศจากอันตราย  ซึ่งหากไม่มี คปอ.ในสถานประกอบกิจการแล้ว การดำเนินการด้านความปลอดภัยก็จะหยุดชะงัก และไม่มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

แนะนำศูนย์ฝึกอบรม คปอ. ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

  1. อบรม คปอ. safetymember
  2. อบรม คปอ. thaisafe

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

foxtucker

เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานผ่านเว็บไซต์ Foxtucker เว็บบทความ ที่เต็มไปด้วยเคล็ดลับดีๆ และข้อมูลที่มีคุณภาพ

ติดต่อ

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by foxtucker