เว็บไซต์รวมความรู้ ด้านความปลอดภัยในการทำงาน อัปเดทใหม่ทุกวัน
Home » อบรม จป. ออนไลน์ ตอนนี้ยังทำได้หรือไม่

อบรม จป. ออนไลน์ ตอนนี้ยังทำได้หรือไม่

by Kay Elliott
625 views
อบรม จป ออนไลน์ ตอนนี้ยังทำได้หรือไม่

จป. คืออะไร หากต้องการอบรม จป. สามารถทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่

จป. คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ ซึ่งแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายนั้นจะต้องมีการแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีการแบ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ออกเป็น 5 ระดับ คือ

ได้แก่ จป. ระดับบริหาร จป. ระดับหัวหน้างาน จป. ระดับเทคนิค จป. ระดับเทคนิคขั้นสูง และ จป. วิชาชีพ  

ซึ่งแต่ละส่วนนั้นจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป โดยจะมีการแบ่งไปทางสาขาอาชีพที่ได้ร่ำเรียนและได้เรียนรู้กันมา แต่ละสาขานั้นจะมีการทดสอบและมีการปรับระดับเรียนรู้ของตัวเองอยู่เสมอ ในหน่วยงานใหญ่และอุตสาหกรรมใหญ่จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ แต่สิ่งที่เราจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถสังเกตได้ง่ายก็คือในเรื่องของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยทั่วไป หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ รปภ ซึ่งแต่ละหน้าที่งานก็จะมีความชัดเจนในงานที่ทำ

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ จป. กันให้มากขึ้น พร้อมทั้งแนะนำการ อบรม จป. ต้องทำอย่างไร

ประเภทกิจการที่ต้องมี

ประเภทกิจการที่ต้องมี

ประเภทกิจการที่ต้องมี จป.

บัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565  ได้กำหนดประเภทกิจการที่ต้องมี จป. ดังนี้

บัญชี 1

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ

บัญชี 2

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

บัญชี 3

  1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
  2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
  4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
  5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
  6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
  7. สวนพฤกษศาสตร์
  8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
  9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
  10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2

เกร็ดความรู้

มาตรา 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กำหนดในกระทรวง

การอบรม จป.

ในแต่ละระดับ มีหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงค่าลงทะเบียนด้วย อย่างไรก็ตาม 

การอบรม จป

อบรม จป. ออนไลน์ได้หรือไม่

ตอนนี้ไม่สามารถอบรม จป. ออนไลน์ได้แล้วเนื่องจากกฎหมายได้ยกเลิกไปตามพรบสาธารณสุขเรื่องโรคโควิด จึงทำให้ การอบรม จป. จะต้องอบรมแบบปกติเท่านั้น

foxtucker

เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานผ่านเว็บไซต์ FoxtucKer เว็บบทความ ที่เต็มไปด้วยเคล็ดลับดีๆ และข้อมูลที่มีคุณภาพ

ติดต่อ

Copyright @2023  All Right Reserved – Designed and Developed by foxtucker