แน่นอนว่าการ ตรวจเครน หรือที่เรียกกันว่าการตรวจ ปั้นจั่น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากๆ ในงานอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือของผู้รับเหมา รวมไปถึงข้อกฎหมายต่างๆ อีกด้วย หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้ว่า การตรวจเครน ตรวจปั้นจั่น เป็นข้อบังคับทางกฎหมาย
ดังนั้นในวันนี้เราจะมาแนะนำให้คุณได้รู้จักเกี่ยวกับข้อกฎหมายต่างๆ ของปั้นจั่น การตรวจสอบ การตรวจเช็กต่างๆ ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง
โดยกฎที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้ จะเป็นกฎที่ออกด้วยกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๔
กฎหมายเกี่ยวกับ ปั้นจั่น
- ข้อ 56 ในขั้นตอนการประกอบ ติดตั้ง การใช้งาน การซ่อมแซม หรือการกระทำใดๆ กับเครื่องจักร นายจ้างจะต้องทำตามคู่มือ และบังคับใช้คู่มืออย่างเคร่งครัด นอกจากนี้จะต้องมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญทำรายละเอียดเกี่ยวกับคู่มือเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานใช้งานด้วย
- ข้อ 57 จะต้องมีการทดสอบ และตรวจเครนหรือปั้นจั่น ในขั้นตอนการติดตั้ง ตามข้อกำหนดในข้อ 56 ตามที่ได้กำหนดไว้ และจะต้องมีเอกสารยืนยันการตรวจสอบทุกครั้ง
- ข้อ 58 จะต้องมีการทดสอบ และตรวจเครนหรือปั้นจั่น ในขั้นตอนการประกอบ ตามข้อกำหนดในข้อ 56 ตามที่ได้กำหนดไว้ และจะต้องมีเอกสารยืนยันการตรวจสอบทุกครั้ง
- ข้อ 59 นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติดังนี้ เพื่อความปลอดภัย
- จะต้องเหลือลวดสลิงในม้วนอย่างน้อย 2 รอบระหว่างที่กำลังทำงานอยู่
- จะต้องมีชุดป้องกันลวดสลิงหลุดจากตะขอและแขนบูม และสภาพของชุดป้องกันต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
- จะต้องมีที่ครอบ เพื่อปิดกันส่วนหมุน หรือส่วนที่เคลื่อนไหวได้ เนื่องจากชิ้นส่วนขยะหรือชิ้นส่วนก่อสร้างรอบๆ อาจจะเข้าไปภายในกลไกได้
- ผู้ปฏิบัติงานทุกท่านจะต้องสวมชุดและอุปกรณ์นิรภัยตลอดเวลา
- พื้นทุกชนิดที่อยู่ในบริเวณปั้นจั่นจะต้องเป็นพื้นกันลื่น และมีราวกันตกหรือแผงกั้น
- จะต้องมีเครื่องมือในการดับเพลงฉุกเฉินที่พร้อมใช้งานตลอดเวลา
- การติดตั้งจะต้องได้รับการรับรองโดยวิศวกร
- ระบบควบคุมต่างๆ จะต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลา
- ห้ามยกของเกินพิกัดน้ำหนักเด็ดขาด
- ข้อ 60 ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ จะต้องมีฉนวนหุ้มท่อไอเสีย ถังเก็บเชื้อเพลิงและระบบเชื้อเพลิงสำรองจะต้องพร้อมใช้งานอย่างปลอดภัย
- ข้อ 61 ห้ามให้มีวัตถุไวไฟอยู่ใกล้พื้นที่ปฏิบัติงานเด็ดขาด
- ข้อ 62 ห้ามใช้งานปั้นจั่นที่ทำงานผิดปกติ หรือชำรุด
- ข้อ 63 นายจ้างจะต้องไม่ดัดแปลง แก้ไข หรือแต่งเติมไม่ว่าจะส่วนไหนก็ตามในปั้นจั่น แม้ว่าจะทำเพียงเพื่อความสวยงามก็ทำไม่ได้ หากต้องการจะแก้ไขหรือดัดแปลง ต้องมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเท่านั้น
- ข้อ 64 ระบบเตือนภัยจะต้องสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์และปลอดภัย
- ข้อ 65 จะต้องมีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักในปั้นจั่นทุกเครื่อง
- ข้อ 66 จะต้องกำหนดอาณาเขตในการปฏิบัติงาน และทำสัญลักษณ์แสดงไว้ นอกจากนี้ต้องดูแลให้สัญลักษณ์ชัดเจน สามารถมองออกได้ง่าย
- ข้อ 67 จะต้องจัดเตรียมคู่มือสัญญาณมือและสัญญาณสื่อสารเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานศึกษาและปฏิบัติงาน
- ข้อ 68 การติดตั้งปั้นจั่นใกล้อุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับที่ระบุไว้
- ข้อ 69 นายจ้างจะต้องติดตั้งสายดินในกรณีที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าอยู่ใกล้พื้นที่ปฏิบัติงาน
- ข้อ 70 นายจ้างจะต้องมีป้ายแสดงวิธีการใช้งานปั้นจั่นอย่างคร่าวๆ เพื่อให้เห็นได้ชัด
- ข้อ 71 ในกรณีที่จุดยกมองไม่ชัดเจน จะต้องมีผู้ให้สัญญาณทุกครั้ง
- ข้อ 72 นายจ้างจะต้องจัดให้มีการอบรมผู้ปฏิบัติงานโดยผู้เชี่ยวชาญตามหลักสูตรที่กระทรวงกำหนด
บทลงโทษตามกฎหมายหากไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมาย
- ตามมาตรา 53 นายจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนด จะต้องวางระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- และ ตามมาตรา 54 ผู้ใดปลอมแปลงเอกสารการตรวจสอบ เอกสารหลักฐาน ที่ใช้ในการตรวจเครน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปหาข้อมูลแหล่งอัพเดทกฎหมายความปลอดภัยได้เพื่อติดตามกฎหมายใหม่ๆ และ ดูแนวทางการทำตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ทดสอบเครนตามกฎหมาย ก็เป็นสิ่งสำคัญ และควรเลือกบริการทดสอบเครน สำหรับการรับรองความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเครนในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ก่อสร้าง ขนส่ง และการผลิต ซึ่งการบริการนี้จะรวมถึงการตรวจสอบทางเทคนิค การทดสอบภาระการใช้งาน และการทดสอบการทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าเครนทำงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนดและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งานช่วยให้ผู้ประกอบการเครนมั่นใจได้ว่าเครนปลอดภัยและพร้อมใช้งานตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการป้องกันอุบัติเหตุและการเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานเครนที่ไม่เหมาะสมหรือมีสภาพไม่พร้อมใช้งาน
บทความที่น่าสนใจ :
- Anchor point คืออะไร?
- รู้จักกับมาตรฐาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน
- รวมองค์กรด้านสุขภาพ และความปลอดภัยในที่ทำงานทั่วโลก
- การตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน มีประโยชน์อย่างไร
- คปอ. คณะกรรมความปลอดภัยฯ ในการทำงาน ตามกฎหมายใหม่ คือใคร
- รู้จักกับ รอกนิรภัย หรือ Self-Retracting Lifelines (SRL)