Home » องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ

องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ

by Kay Elliott
5.9K views
1.องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ

องค์การอนามัยโลก WHO

องค์การอนามัยโลก (WHO) เป็นองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ  ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ  ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน ค.ศ. 1948 ประกอบด้วยสมาชิก 131 ประเทศ (ธันวาคม 2511)

องค์การนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

องค์กรอนามัยโลกมีบทบาทเป็นหน่วยงานระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ดูแลและคอยประสานงานด้านการสาธารณสุขเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนทั้งโลกมี 4 หน้าที่หลัก คือ

1. อำนวยความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆตามความต้องการเมื่อได้ร้องขอมา

2. จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่างๆทั่วโลก

3. ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆอันไม่อาจดำเนินไปได้โดยลำพังของแต่ละประเทศ

4. ทำหน้าที่แก้ปัญหาโรคที่ยังไม่สามารถรักษาได้ เช่น ซาร์ส ไข้หวัดนก และล่าสุดคือโควิด-19

ทั้งนี้ ความมุ่งหมายดั้งเดิมของการร่วมมือกันนี้ก็เพื่อช่วยกันหยุดยั้งการระบาดของโรคต่างๆแต่ในปัจจุบันได้ขยายความร่วมมือออกไปอีกโดยยกระดับเรื่องสุขภาพอนามัยทุกแห่งบนโลกและส่งเสริมความก้าวหน้าในด้านสาธารณสุขด้วยการศึกษาวิจัยและแลกเปลี่ยนความรู้ต่างๆ อันเกี่ยวกับการคุ้มครองส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน  และที่สำคัญงานขององค์การอนามัยโลกดำเนินการภายใต้นโยบายและการปกครองของสมัชชาอนามัยโลกที่ประกอบไปด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิก และเพื่อเป็นการกระจายการปฏิบัติงานขององค์การให้ทั่วถึงส่วนต่างๆ ของโลก สมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ 1 ได้มีมติกำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 6 ภูมิภาค คือ

1. ภูมิภาคอเมริกา มีสำนักงานอยู่ณกรุงวอชิงตันดีซี

2. ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก  มีสำนักงานอยู่ ณ เมืองอเล็กซานเดรีย

3. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนักงานอยู่ที่ณกรุงนิวเดลี

4. ภูมิภาคแอฟริกามีสำนักงานอยู่ณเมืองบราซาวีล

5. ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกมีสำนักงานอยู่ณกรุงมะนิลา

6. ภูมิภาคยุโรปมีสำนักงานอยู่ณกรุงโคเปเฮเกน

สำหรับประเทศไทย อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั้งหมด 11 ประเทศ คือ ประเทศบังคลาเทศ ประเทศพม่า ประเทศอินเดีย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนเกาหลี ประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์ ประเทศมองโกเลีย ประเทศเนปาล ประเทศศรีลังกา ประเทศภูฏาน และประเทศไทย

WHO ยังให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน อีกด้วย

2.WHO ยังให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน อีกด้วย

สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข  และสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

  • รับผิดชอบในภาพรวม โดยจัดให้มีมาตรการในการป้องกันคุ้มครองเจ้าหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยงทางสุขภาพตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • ให้ความรู้ จัดฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่บุคคล ประกอบไปด้วย
  • การอบรมเพื่อทบทวนเรื่องการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (IPC) และ
  • การอบรมเรื่องสวมใส่ การถอด และกำจัดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ (IPC) และ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) ให้เพียงพอ เช่น หน้ากาก ถุงมือ แว่นตาสำหรับป้องกัน เสื้อคลุม เจลทำความสะอาดมือ สบู่และน้ำสะอาด และอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ ให้มีปริมาณที่เพียงพอสำหรับบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นๆ ที่ให้การดูแลผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ COVID-19 โดยบุคคลดังกล่าว ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ บนพื้นฐานข้อกำหนดด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
  • จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมตามความจำเป็น
  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากการกล่าวโทษสำหรับบุคลากร เพื่อให้สามารถรายงานเหตุการณ์ต่างๆ ได้ เช่น หากมีการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจ หรือกรณีที่เกิดความรุนแรงระหว่างปฏิบัติ พร้อมทั้งให้มีการติดตามรวมถึงการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ โดยเร่งด่วน
  • แนะนำให้บุคลากรประเมินตนเอง รวมทั้งรายงานอาการเจ็บป่วยและจำกัดตัวเองอยู่ที่บ้านเมื่อมีอาการเจ็บป่วย
  • จัดสรรระยะเวลาทำงานให้มีความเหมาะสม และควรมีการหยุดพักในระหว่างเวลางาน
  • ปรึกษาหารือกับผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเด็นของอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของบุคลากร และรายงานต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยแรงงาน ในกรณีที่พบโรคจากการทำงาน
  • ไม่ควรกลับไปปฏิบัติงานในงานในสถานที่ทำงานที่ยังอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างมากต่อชีวิตหรือสุขภาพ จนกว่านายจ้างจะมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้แล้ว
  • อนุญาตให้บุคลากรมีสิทธิที่จะออกจากสถานที่ทำงานที่มีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตอย่างรุนแรง นอกจากบุคลากรควรได้รับการปกป้องจากผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมตาม มาจากการใช้สิทธินั้น
  • หากมีการติดเชื้อ COVID-19 ที่เกิดจากการสัมผัสปัจจัยเสี่ยงในที่ทำงาน ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิที่ได้รับการชดเชย การฟื้นฟูเยียวยาและการได้รับการรักษา ทั้งนี้จะพิจารณาการได้รับความสี่ยงจากการทำงานซึ่งมีผลทำให้เกิดความเจ็บป่วย ให้เป็นกาฬโรคที่เกิดจากการทำงาน
  • จัดให้มีการเข้าถึงบริการรักษาและคำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
  • เปิดโอกาสให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ และ/หรือตัวแทนของบุคลากร

ทุกท่านเห็นแล้วใช่หรือไม่ ว่าทุกประเทศได้ให้ความสำคัญกับระบบสาธารณสุขกับประชาชนภายในประเทศของตน จึงทำให้องค์กรนี้ได้มีการดำเนินงานที่สำคัญออกมามากมาย เพื่อให้คำแนะนำที่เกี่ยวกับมาตรการเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน และป้องกันการแพร่กระจายของการระบาดได้อย่างทันท่วงที

หมายเหตุ : หากต้องการคัดลอกหรือนำข้อมูลของเราไปเผยแพร่โปรดติดลิ้งค์กลับมาหน้านี้เพื่อให้เครดิตกับเรา

บทความและหลักสูตรที่น่าสนใจ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานผ่านเว็บไซต์ Foxtucker เว็บบทความ ที่เต็มไปด้วยเคล็ดลับดีๆ และข้อมูลที่มีคุณภาพ

ติดต่อ

Copyright @2024  All Right Reserved – Designed and Developed by foxtucker