จป. คืออะไร หากต้องการอบรม จป. สามารถทำได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่
จป. คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ ซึ่งแต่ละส่วนแต่ละฝ่ายนั้นจะต้องมีการแยกสัดส่วนกันอย่างชัดเจน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จะมีการแบ่งหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ออกเป็น 5 ระดับ คือ
ได้แก่ จป. ระดับบริหาร จป. ระดับหัวหน้างาน จป. ระดับเทคนิค จป. ระดับเทคนิคขั้นสูง และ จป. วิชาชีพ
ซึ่งแต่ละส่วนนั้นจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป โดยจะมีการแบ่งไปทางสาขาอาชีพที่ได้ร่ำเรียนและได้เรียนรู้กันมา แต่ละสาขานั้นจะมีการทดสอบและมีการปรับระดับเรียนรู้ของตัวเองอยู่เสมอ ในหน่วยงานใหญ่และอุตสาหกรรมใหญ่จำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการเรียนรู้เรื่องราวเหล่านี้ แต่สิ่งที่เราจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถสังเกตได้ง่ายก็คือในเรื่องของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยทั่วไป หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ รปภ ซึ่งแต่ละหน้าที่งานก็จะมีความชัดเจนในงานที่ทำ
วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ จป. กันให้มากขึ้น พร้อมทั้งแนะนำการ อบรม จป. ต้องทำอย่างไร
ประเภทกิจการที่ต้องมี จป.
บัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดประเภทกิจการที่ต้องมี จป. ดังนี้
บัญชี 1
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
- อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ
บัญชี 2
- อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
- อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
- อุตสาหกรรมสิ่งทอ
- อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
- อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
- อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
- อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
- อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
- อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
- อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
- อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
- อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
- อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
- อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
- อุตสาหกรรมของเล่น
- อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
- อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
- อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
- อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
- อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
- อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
- สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
- คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
- การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
- อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
- การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
- อุตสาหกรรมการขนส่ง
- การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
- กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
- กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
- การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
- โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
- ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
- ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
- โรงพยาบาล
- การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
- การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
- สวนสัตว์หรือสวนสนุก
บัญชี 3
- ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
- ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
- การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
- โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
- โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละคร
- สวนพฤกษศาสตร์
- สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
- สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
- สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2
เกร็ดความรู้
มาตรา 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ด้านความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่กำหนดในกระทรวง
การอบรม จป.
ในแต่ละระดับ มีหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงค่าลงทะเบียนด้วย อย่างไรก็ตาม
อบรม จป. ออนไลน์ได้หรือไม่
ตอนนี้ไม่สามารถอบรม จป. ออนไลน์ได้แล้วเนื่องจากกฎหมายได้ยกเลิกไปตามพรบสาธารณสุขเรื่องโรคโควิด จึงทำให้ การอบรม จป. จะต้องอบรมแบบปกติเท่านั้น
บทความที่น่าสนใจ :
- ทำความรู้จัก PPE ประเภทต่างๆ ที่ช่วยลดแรงสั่นสะเทือน
- สนับเข่า PPE สำคัญที่บางคนอาจจะมองข้าม
- Powered Air-Purifying Respirator : PAPR คืออะไร?
- ประโยชน์ของถุงมือใช้แล้วทิ้งป้องกันสารเคมี
- แนวทางการดำเนินงานประชุม คปอ ประจำเดือน: ขั้นตอนและวิธีการที่ควรรู้
- คปอ อบรมทำไม มีความสำคัญต่อองค์กรมากน้อยแค่ไหน
- จป คือใครมีหน้าที่อะไร กิจการใดต้องมี และ การอบรม จป